"สุรินทร์ พิศสุวรรณ" ชี้ไทยต้องเร่งฟิตภาษาหากไม่อยากรั้งท้ายอาเซียน เผยการทุจริตในระบบการศึกษาไทยน่าเป็นห่วง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.)
ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
จัดการประชุมวิชาการเรื่องการศึกษาผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการศึกษาของอา
เซียนต่อการจัดการศึกษาเอกชนของไทย
โดยภายในงานมีการแสดงปาฐกถาพิเศษของนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ
อดีตเลขาธิการอาเซียน ประธานสถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย ภายใต้หัวข้อ
"โอกาสในการลงทุนจัดการศึกษาเอกชนของไทยในประเทศสมาชิกอาเซียน
และการเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษาเอกชนของไทยสำหรับการเปิดเสรีด้านการ
ศึกษาของอาเซียน"
โดยนายสุรินทร์กล่าวตอนหนึ่งว่า
เรื่องของการศึกษาถือเป็นจุดเริ่มต้นในทุกๆ เรื่อง
หากกล่าวถึงระบบการศึกษาของไทย เรื่องที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง
โดยเฉพาะเรื่องทักษะภาษาต่างประเทศของคนไทย เพื่อแสดงถึงศักยภาพที่ไทยมี
และกลุ่มวิชาชีพที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ระหว่างประเทศสมาชิกส่วนใหญ่แล้ว
เป็นวิชาชีพสายบริการ ต้องมีการสื่อสารทำความเข้าใจ
หากไม่มีทักษะด้านภาษาก็ไม่มีผล
ซึ่งภาษาต่างประเทศในที่นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาที่เป็นที่นิยม อาทิ
ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เป็นต้น
ตนทราบมาว่าประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มสมาชิกอาเซียนให้ความสนใจศึกษาในภาษาไทย
มากกว่าที่เราจะเข้าไปเรียนรู้ภาษาของเขา
แต่ประเทศของเราเองยังรีรอและลังเล
รู้สึกว่าการเรียนรู้ภาษาประเทศเพื่อนบ้านยังไม่จำเป็น
หากยังเป็นเช่นนี้อยู่
ประเทศไทยจะอยู่ในจุดที่จะคับขันในการเรื่องการเตรียมความพร้อมเข้าสู่
ประชาคมอาเซียน ทั้งที่เรามีเวลาในการเตรียมตัวพอกับประเทศอื่นๆ
"หากภาษาอังกฤษของประเทศเราดีขึ้นกว่านี้สัก 25%
ผมเชื่อว่าพรุ่งนี้ความสามารถในการแข่งขันของคนไทยจะสูงขึ้นมาก
เพราะทุกประเทศยอมรับในแง่ของทักษะ ความรู้ความสามารถของคนไทยอยู่แล้ว
ขาดเพียงการสื่อสารเท่านั้น
ประเทศที่ไม่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษก็พัฒนาภาษาอังกฤษได้จนมีทักษะดีขึ้น
ผมว่าคนไทยอาจจะต้องลดความมั่นใจในระบบ
มาตรการและวิธีการพัฒนาภาษาอังกฤษของเราลงสักนิดนึง
เราต้องเปิดตัวเองเพื่อเรียนรู้และศึกษาสร้างความพร้อมเพื่อที่จะอยู่ใน
ประชาคมอาเซียนแบบประเทศอื่นๆ"
นายสุรินทร์กล่าวต่อว่า
นอกจากนี้ประเทศไทยยังต้องปรับเรื่องคุณภาพและระบบการศึกษา
ต้องยอมรับว่าภาคเศรษฐกิจของไทยใหญ่อันดับสองของอาเซียน
และมีความหลากหลายมาก
แต่ไทยไม่ค่อยสนับสนุนการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะมารองรับภาค
เศรษฐกิจมากนัก
ไม่มีเศรษฐกิจไหนที่จะยืมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของคนอื่นมาใช้
และจะแข่งขันกับคนอื่นได้ ต้องบอกว่ากระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
เป็นกระทรวงที่งบประมาณมากที่สุด สำหรับเรื่องการทุจริตใน (ศธ.) นั้น
ตนมองว่าน่าเป็นห่วง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
คณะผู้วิจัยได้สรุปผลกระทบที่จะเปิดเสรีทางการศึกษาของอาเซียนต่อการจัดการ
ศึกษาเอกชนของไทย โดยสรุปว่า
ภาพรวมสถานศึกษาเอกชนที่จัดการศึกษามีมาตรฐานสากล อาทิ โรงเรียนนานาชาติ
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย และโรงเรียนในเครือศาสนาคริสต์
จะสามารถแข่งขันต่อไปได้
ในขณะที่โรงเรียนปานกลางและโรงเรียนที่อ่อนแอต้องเผชิญกับการแข่งขันที่
รุนแรงขึ้น และมีผลให้โรงเรียนที่อ่อนแอส่วนหนึ่งถอดใจจนต้องยุบเลิกกิจการ
ซึ่งจะมีประมาณ 10-30% ขึ้นอยู่กับมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ
และความสามารถในการปรับตัวของผู้ประกอบการ
ส่วนโอกาสในการจัดการศึกษาในระบบมีน้อย
เพราะคุณภาพการศึกษาไม่เป็นที่ยอมรับ
แต่ที่โดดเด่นคือหลักสูตรระยะสั้นด้านการบริการ อาทิ อาหาร สปา นวดแผนไทย
เป็นต้น
ที่มา ไทยโพสต์ วันที่ 27 พฤษภาคม 2558