“กฤษณพงศ์
”ไม่เชื่อรายงานการศึกษาไทยห่วยออกจากหน่วยราชการต่างประเทศ ย้ำเดินหน้าใช้
3 ส่วนหลักดันปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
จี้มหาวิทยาลัยเปิดข้อมูลสาขาเรียนจบมีงานทำ ให้เด็กรู้ก่อนเลือกเส้นเรียน
วันนี้ ( 3 พ.ค.)ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รมช.ศึกษาธิการ (ศธ.)
กล่าวถึงกรณีที่มีการเผยแพ่รรายงานของชาวต่างชาติทางสื่อสังคมออนไลน์
โดยวิพากษ์วิจารณ์การศึกษาของไทยมีปัญหาคุณภาพตั้งแต่มัธยมศึกษาถึง
มหาวิทยาลัย ว่า
ตนเชื่อว่าข้อมูลดังกล่าวไม่น่าจะเป็นข้อมูลของหน่วยต่างประเทศ
เพราะการศึกษาของไทย มีทั้งส่วนที่ดีและไม่ดี
ถ้าไม่ดีเลยคงขับเคลื่อนสังคมไม่ได้มาจนถึงขนาดนี้
ที่ผ่านมาคนไทยชอบพูดถึงด้านไม่ดี ของที่ดีซึ่งมีอยู่ก็ไม่พูดถึงกัน
อย่างไรก็ตามในฐานะที่ตนดูแลการอุดมศึกษา
การปฏิรูปการศึกษาที่จะดำเนินการในส่วนของอุดมศึกษานั้นมี 3
ส่วนหลักที่ตนอยากจะผลักดัน คือ
1.ให้มหาวิทยาลัยใช้แผนพัฒนาอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี(พ.ศ.2551- 2565)
ซึ่ง ได้ทำไว้ตั้งแต่สมัยตนเป็นเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา(กกอ.)
คิดว่าเป็นแผนที่ดี ไม่ต้องคิดนโยบายใหม่ แต่ให้มหาวิทยาลัยมาดูว่าใน 1
ปีนี้ จะเน้นอะไร ต้องการความช่วยเหลือด้านทรัพยากร หรือ ให้ปลดล็อคอะไร
ก็บอกมา
รมช.ศธ. กล่าวต่อไปว่า
เรื่องที่
2.เมื่อสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามอบอำนาจให้มหาวิทยาลัยไปจัดการตัว
เองได้มากแล้วก็ต้องทำสภามหาวิทยาลัย
ซึ่งเป็นกลไกการดูแลบริหารจัดการมหาวิทยาลัยให้มีความเข้มแข็ง เช่น
ให้สถาบันคลังสมองของชาติ จัดฝึกอบรมกรรมการสภามหาวิทยาลัยให้มากขึ้น
ให้มหาวิทยาลัยนำตัวอย่างที่ดีของตนเองมาเผยแพร่และเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัย
อื่นส่งคนไปเรียนรู้ หรือนั่งทำงานด้วยได้
ตลอดจนมาทบทวนเรื่องการแชร์ข้อมูลกับต่างประเทศ เป็นต้น
"มี แนวคิดว่าจะต้องมีกฎหมายกลางเข้าไปดูแลสภามหาวิทยาลัย อย่างร่าง
พ.ร.บ.การอุดมศึกษา ที่จะผลักดันกันนั้น ผมยังไม่ได้ดูรายละเอียด
แต่หากจะผลักดันต้องพิจารณาร่วมโดยที่ไม่ได้ใช้อำนาจของใครคนใดคนหนึ่ง
จะไม่เข้าไปตัดสินทุกเรื่อง แต่จะเน้นบางเรื่องอย่าง
หลักสูตรการเรียนการสอนที่จบออกมาแล้วไม่มีงานทำอาจจะต้องให้อำนาจส่วนกลาง
หรือ สกอ.ไม่อนุมัติให้มหาวิทยาลัยเปิดสอนหลักสูตรดังกล่าว
ไม่ใช่ว่าเมื่อมหาวิทยาลัยเสนออนุมัติหลักสูตรที่ผ่านความเห็นชอบจากสภา
มหาวิทยาลัยมาให้ สกอ.ก็ต้องอนุมัติทั้งหมด
เนื่องจากมีการให้อำนาจสภามหาวิทยาลัยในปัจจุบัน
ซึ่งโดยหลักแล้วการจะเปิดสอนหลักสูตรต่างๆ ควรจะต้องดูในภาพรวมทั้งระบบ
แต่อย่างไรก็ตามการสร้างสภามหาวิทยาลัยให้เข้มแข็งน่าจะเป็นกลไกที่ดีกว่า
ที่จะไปควบคุมดูแลและน่าจะทำได้เร็วกว่า” รมช.ศธ. กล่าว
ดร.กฤษณพงศ์ กล่าวด้วยว่า
3.การเพิ่มความรับผิดรับชอบของมหาวิทยาลัยในการผลิตนักศึกษาออกมาแล้วมี
งานทำหรือสร้างงานเองได้
ซึ่งตนอยากให้มหาวิทยาลัยทำรายงานหรือให้ข้อมูลแก่สาธารณะที่ควรจะรับทราบ
อย่าง เช่น อัตราการมีงานทำของบัณฑิตแต่ละมหาวิทยาลัยที่จบออกไป
อัตราเงินเดือนที่ได้รับ และเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพนั้นๆ
ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนใช้ข้อมูลเหล่านี้ตัดสินใจในการสมัครเข้าเรียนต่อใน
มหาวิทยาลัย โดยปัจจุบันข้อมูลดังกล่าวสกอ.มีเฉพาะในส่วนของการรับ
การจบนักศึกษาในแต่ละสาขาวิชาทั่วประเทศ แต่อัตราการมีงานทำ
และเงินเดือนจะเป็นข้อมูลของมหาวิทยาลัย ดังนั้น
หากมีการเผยแพร่ข้อมูลส่วนนี้ออกมาเป็นเป็นประโยชน์อย่างมาก
ซึ่งตนหวังว่าในช่วงของการสมัครแอดมิชชั่น ปีการศึกษา 2558
น่าจะมีข้อมูลบางส่วนออกมาก่อน อย่างในสาขาวิชาที่มีคนเรียนเยอะในสายสังคม
ทั้งนี้ตนจะไปพิจารณาว่าข้อมูลการจบ
และการมีงานทำควรจะต้องนำมาพิจารณาเพื่อตั้งงบประมาณภาครัฐในแต่ละ
มหาวิทยาลัยหรือไม่
ซึ่งที่ผ่านมาได้หารือเรื่องนี้กับทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยแล้ว
จากนี้ไปจะไปพูดคุยกับกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลและมหาวิทยาลัย
ราชภัฏและมหาวิทยาลัยเอกชนเพื่อขอความร่วมมือต่อไป
ที่มา เดลินิวส์ วันจันทร์ 3 พฤศจิกายน 2557 เวลา 17:14 น.