อุดมศึกษาชี้แนวผลิตบัณฑิตด้านความปลอดภัย
นายพานิช-จิตร์แจ้ง อธิบดีกรมสวัดิการและคุ้มครองแรงงาน ( กสร.) กระทรวงแรงงานกล่าวว่าในการเป็นประธานการประชุมชี้แจงแนวทาง พ.ร.บ. ความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 2554 สำหรับหน่วยงานราชการ ซึ่งมีผู้บริหารและตัวแทนหน่วยงานและกระทรวงต่างๆ เข้าร่วมกว่า 400 คน ที่โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กทม.ว่า กสร.ต้งเป้าหมายจะลดสถิติผู้ประสบอันตรายจากการทำงานจากร้อยละ 4 ต่อปี ให้ลดลงเหลือร้อยละ 2 ต่อปี และอนาคตจะลดให้เหลือเป็นศูนย์ในที่สุด ขณะเดียวกัน พ.ร.บ.ความปลอดภัยฯ กำหนดให้สถานประกอบการต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.) โดยสถานประกอบการที่มีลูกจ้างต้งแต่ 2 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ จป.ดูแลด้านความปลอดภัย และสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป และหน่วยงานราชการที่มีพนักงานตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป จะต้องจัดให้มีหน่วยงานดูแลด้านความปลอดภัยโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีปัญหาการขาดแคลนเจ้าหน้าที่ จป. เนื่องจากปัจจุบันมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน 29 แห่ง ที่เปิดสอนหลักสูตรด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยสามารถผลิตบุคลากรด้านความปลอดภัยระดับปริญญาตรีได้เพียงปีละ 1,500 คน จากที่มีความต้องการทั้งหมดปีละ 4,000 คน และยังมีปัญหาเรื่องของคุณภาพบัณฑิตไม่ได้มาตรฐานเท่าเทียมกัน กสร.จะปรับปรุงคุณภาพบัณฑิต จป.ให้มีมาตรฐานเท่าเทียมกัน โดยขอให้มหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน 29 แห่ง นำหลักสูตรด้านความปลอดภัยของ กสร.ไปใช้ในจัดการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่4 ในเทอมแรก รวมทั้งให้นักศึกษาเข้าไปฝึกงานในสถานประกอบการโดยใช้เกณฑ์ประเมินตามมาตรฐานแรงงานไทย (มรท.) ด้านความปลอดภัยขอกสร. หากผ่านการฝึกงานตามเกณฑ์ มรท.ด้านความปลอดภัย กสร. จะออกใบรับรองเพื่อให้สถานประกอบการมีความเชื่อมั่นในคุณภาพบัณฑิตและรับเข้าทำงานโดยคาดว่าจะเริ่มในปีการศึกษา 2557 และจัดทำร่างกรอบอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานของเจ้าหน้าที่ จป.เสนอต่อคณะกรรมการค่าจ้างเพื่อแก้ปัญหาเจ้าหน้าที่ จป.ในสถานประกอบการขนาดเล็กไหลออกไปทำงานในสถานประกอบการขนาดใหญ่เพราะได้เงินเดือนมากกว่า
--คมชัดลึก ฉบับวันที่ 27 ธ.ค. 2556 (กรอบบ่าย)-- |