สพฐ. เอาจริง! จับมือญี่ปุ่น ขนนักเรียน ครู ลำปาง ซ้อมอพยพ รับมือแผ่นดินไหว-ภัยพิบัติ ผู้สื่อข่าว Mthai News
รายงานจาก จ.ลำปาง ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พร้อมสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาดำเนินการโครงการจัดการศึกษาเพื่อ
เตรียมความพร้อมเผชิญสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษาเตรียมความพร้อมรับมือภัย
พิบัติทางธรรมชาติ โดยมีการจัดประชุม
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามีแนวทางในการจัดการ
ด้านภัยพิบัติ
และแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติ
สามารถจัดกิจกรรมด้านการจัดการภัยพิบัติในสถานศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรม
ตามข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขณะเดียวกัน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ร่วมกับสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ ไจก้า
และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ได้ดำเนินโครงการให้การศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการภัยพิบัติทาง
ธรรมชาติ พัฒนาหลักสูตรในสถานศึกษา และพัฒนาสื่อกิจกรรมการเรียนการสอน
รวมทั้งได้จัดอบรมครูต้นแบบในด้านการป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ
เพื่อนำไปขยายผลให้แก่นักเรียน และชุมชน ได้มีความรู้
ความเข้าใจในการจัดการและเตรียมความพร้อมเผชิญสถานการณ์ภัยพิบัติ จากนั้น ผู้สื่อข่าว Mthai News ยัง
ได้เดินทางไปยัง โรงเรียนบ้านปงสนุก อ.เมือง จ.ลำปาง
ซึ่งเป็นโรงเรียนต้นแบบในการซ้อมหนีภัย เมื่อเกิดแผ่นดินไหว
โดยโรงเรียนพร้อมกับเจ้าหน้าที่
ปภ.ได้จำลองเหตุการณ์แผ่นดินไหวสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง
ซึ่งทันทีที่เกิดเหตุ จะมีเสียงสัญญาณเตือนภัยในครั้งแรกดังขึ้น
นักเรียนและครูต่างเอาตัวไปหลบอยู่ใต้โต๊ะเรียนหรือเกาะริมผนังห้อง
เวลาผ่านไป 2-5 นาที แรงสั่นสะเทือนหยุด
เสียงสัญญาณเตือนภัยดังขึ้นครั้งที่ 2 อีกครั้ง
ครูและนักเรียนต่างมารวมตัวหน้าห้องเรียน โดยมีผู้นำ (หัวหน้าห้อง) ถือธง
เดินเร็วรวมทั้งวิ่งไปยังพื้นที่โล่ง หรือสนามหญ้าหน้าโรงเรียนตามขั้นตอน จาก
นั้น หัวหน้าห้องจะเช็คจำนวนเพื่อนหรือเพื่อนนักเรียน
แล้วจะรีบแจ้งให้อาจารย์หรือเจ้าหน้าที่บริเวณนั้น
เพื่อให้ทราบถึงจำนวนคนที่อาจติดอยู่ในอาคารว่ามีหรือไม่
โดยขั้นตอนทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
นักเรียนอาจารย์เข้าใจขั้นตอนการปติบัติเป็นอย่างดี
นอกจากนี้ไม่เพียงเฉพาะนักเรียนโรงเรียนบ้านปงสนุกเท่านั้น
ยังได้มีตัวแทนจากโรงเรียนต่าง ๆ
ในพื้นที่เสี่ยงภัยมาร่วมซ้อมการอพยพครั้งนี้ด้วย ขณะ
ที่ด้าน นายโอโน เดระจุน ผู้เชี่ยวชาญ JICA
โครงการพัฒนาศักยภาพภัยพิบัติจากญี่ปุ่นระบุว่า
การเลือกประเทศไทยเป็นพื้นที่ในการให้ความช่วยเหลือด้านความรู้เกี่ยวกับการ
รับมือภัยพิบัตินั้น เนื่องจาก ไทย-ญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์อันดี
พร้อมทั้งต้องการศึกษา ความร่วมร่วมมือระหว่างชุมชนและโรงเรียนที่ประเทศไทย
เพราะมองว่ามีความร่วมมือระหว่างกัน
ซึ่งการให้ความรู้ในครั้งนี้จะเป็นการให้ความรู้ในด้านการรักษาชีวิต
เอาตัวรอดเมื่อเกิดเหตุ (ขั้นพื้นฐาน) ทั้งเรื่องน้ำท่วม ดินถล่ม
แผ่นดินไหว และสึนามิ เพราะไทยเคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อปี 2004 ส่วน
ภาพรวมในประเทศไทยส่วนตัวเห็นว่า
เป็นห่วงพื้นที่ภาคเหนือที่มีความเสี่ยงในเรื่องดินถล่ม
ขณะที่พื้นที่ภาคกลางก็มองว่ายังเสี่ยงต่อน้ำท่วม
เช่นกันพื้นที่ภาคใต้ก็เสี่ยงน้ำท่วมแต่สามารถระบายน้ำได้เร็วกว่าพื้นที่
ภาคกลาง ขณะเดียวกัน
ด้านนายสมบัติ สุทธิพรมณีวัฒน์
ผู้อำนวยการสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 กล่าวว่า
ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงและถี่ขึ้น ส่งผลกระทบต่อเด็กนักเรียน
ครูผู้สอน และโรงเรียน ทาง สนง.เขตพื้นที่ฯ
ได้รับมอบนโยบายจัดการเรียนการสอนด้านภัยพิบัติ ไม่ใช่เพียงในตำรา
แต่เน้นให้เด็กๆ มีทักษะและรู้วิธีเอาตัวรอดจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้น
โดยเฉพาะเด็กโตสามารถป้องกันตนเองได้และดูแลช่วยเหลือผู้อื่นด้วยนี่คือการ
ปลูกฝังจิตสาธารณะ
นอกเหนือจากการที่โรงเรียนทุกแห่งต้องมีการซ้อมอพยพอย่างน้อยปีละครั้ง
และจะขยายผลให้มีการซักซ้อมร่วมกับชุมชนในพื้นที่มากขึ้น ซึ่ง
ได้นำร่องที่โรงเรียนบ้านปงสนุก เพราะเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ มีนักเรียนกว่า
1,000 คน เด็กมาจากพื้นที่อาศัยที่หลากหลายต่างอำเภอกัน
แม้ที่ตั้งโรงเรียนโอกาสเกิดภัยพิบัติน้อย
แต่เด็กมาจากท้องถิ่นที่เสี่ยงภัย
เราจำเป็นต้องฝึกทักษะชีวิตให้เด็กเพื่อรักษาตัวรอดจากภัยธรรมชาติได้
แล้วก็ยังบอกต่อ แนะนำพ่อแม่ และชาวบ้านที่อาศัยในชุมชนได้
ที่นี่เป็นโรงเรียนศูนย์จัดการเรียนรู้ด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติภาคเหนือ
จะเปิดโอกาสให้โรงเรียนต่างๆ ได้เรียนรู้ อย่าง
ไรก็ตาม กิจกรรมในการซ้อมอพยพยังได้มีการจัด ฐาน 14
กิจกรรมฐานเรียนรู้เพื่อรับมือภัยพิบัติให้นักเรียนได้เรียนรู้เพิ่มเติม
อาทิ ฐาน 1 กระสอบดับไฟ ฐาน 2 เครื่องดับเพลิงพิชิตไฟ ฐาน 3 หนีควันให้ปลอดภัย ฐาน 4 ข้ามน้ำยามมีภัย ฐาน 5 ข้ามห้วยด้วยไม้ไผ่ ฐาน 6 ทุ่นลอยจากวัสดุเหลือใช้ ฐาน 7 เคลื่อนย้ายผู้ป่วย ฐาน 8 พยาบาลใจดี ฐาน 9 บ้านพักยามยาก ฐาน 10 ส้วมกระดาษ ฐาน 11 หนูน้อยรวมใจ ฐาน 12 ยุวอาสาเตือนภัย ฐาน 13 ศูนย์ ปภ.เขต 10 ลำปาง ฐาน 14
ศูนย์ป้องกันไฟป่าลำปาง เป็นทักษะการเอาตัวรอดในสภาวะวิกฤติที่ให้เด็กๆ
ได้ปฏิบัติจริง เช่น ได้เดินทรงตัวบนเชือกเส้นเดียว
จำลองเหตุการณ์หากเกิดภัยน้ำป่าต้องข้ามไปอีกฝั่งด้วยสะพานเชือก
สะพานไม้ไผ่ด้วย Mthai News









|