ก่อนสิ้นปี2553
นายชินวรณ์บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
จูงมือผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แถลงข่าวผลงานรอบ1
ปีหลังจากนั่งเก้าอี้รมว.ศึกษาธิการตั้งแต่15 มกราคม2553 โดยชู19 โครงการ19
ความสำเร็จเป็นผลงานเด่นของเขา กว่า 2
ปีที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการอยู่ภายใต้การบริหารงานของรัฐมนตรีจากพรรคประ
ชาธิปัตย์ 2 สมัยติดต่อกันตั้งแต่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
มาจนถึงรัฐมนตรีคนล่าสุด นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ
เพราะฉะนั้นภาพรวมในการบริหารงานกระทรวงศึกษาธิการตลอด 2
ปีที่ผ่านมาจึงมีความต่อเนื่องพอสมควร
โดยยึดแนวทางของรัฐบาลที่ชูเรื่องการปฏิรูปการศึกษารอบ 2
และนโยบายเรียนฟรี15 ปีเป็นหลัก ซึ่งทั้ง 2
เรื่องนี้สามารถแตกย่อยเป็นโครงการต่างๆมากมาย นอกจากนั้น นายชินวรณ์
ยังเดินหน้าโครงการอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย
เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายในการขยายโอกาสและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
นับนิ้วแล้ว นายชินวรณ์บอกว่า เขาประสบความสำเร็จกับ 19 โครงการภายในปี2553
ที่ผ่านมา นายชินวรณ์เริ่มแถลงข่าวด้วยการเกริ่นว่า
การทำงานในตำแหน่ง
รมว.ศึกษาธิการนั้นแม้จะมีปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้
เป็นไปตามนโยบายปฏิรูปการศึกษา ทศวรรษที่ 2
แต่ก็สามารถเดินหน้าจนได้รับความสำเร็จในช่วงระยะเวลา1 ปีนี้ถึง19
โครงการเริ่มจาก 1.โครงการเรียนฟรีเรียนดี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ
หลังจากที่ประสบความสำเร็จกับการทุ่มเงินกว่า 7.3 หมื่นล้านบาท แจกของฟรี 5
อย่างคือ ค่าเทอม ชุดนักเรียน ตำราเรียน
อุปกรณ์การเรียนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ให้แก่นักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานกว่า 12.5
ล้านคนนำมาซึ่งผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ปกครองมีความพึงพอใจนโยบายดังกล่าว
ในปี 2554 นี้กระทรวงศึกษาธิการยังสามารถผลักดันของบประมาณเรียนฟรี 15
ปีเพิ่มเป็น 8 หมื่นล้านบาท ซึ่งการของบประมาณเพิ่มนั้น
เพื่อนำมาปรับปรุงประสิทธิภาพของโครงการกำหนดให้นักเรียน ม.4-ม.6
และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ได้หนังสือเรียนฟรีโดยไม่ต้องยืมเรียน
และส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและการมีส่วนร่วมของกรรมการสถานศึกษาและผู้
ปกครองนักเรียน 2.โครงการปรับปรุงการดื่มนมฟรีอาหารกลางวัน
ซึ่งประสบความสำเร็จในการผลักดันขอเพิ่มงบประมาณรายหัวให้แก่เด็ก
ให้ดื่มนมฟรีจาก 6 บาทเป็น 7 บาทต่อคนต่อวันจำนวน 200
วันและปรับปรุงงบประมาณรายหัวโครงการอาหารกลางวัน จากรายหัวละ 11 บาทเป็น
13 บาทใช้งบประมาณทั้งหมดกว่า 9,298 ล้านบาท
3.โครงการเด็กพิการเรียนฟรีตั้งแต่ชั้นก่อนประถมศึกษาจนถึงปริญญาตรีซึ่ง
กระทรวงได้เพิ่มจำนวนนักเรียนพิการขั้นพื้นฐานในสังกัดสำนักบริหารงานการ
ศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จาก 19,914
คนเป็น 20,981 คนให้ได้รับโอกาสเรียนต่อระดับปริญญาตรีสูงขึ้น เป็น 4,562
คนเพิ่มเด็กเรียนร่วมใน 15,530 โรงเรียนจำนวนนักเรียน 189,437
คนใช้งบประมาณกว่า 1,496 ล้านบาทเพื่อช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส เด็กชายขอบ
และอื่นๆ ให้มีโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึง
4.โครงการประกาศจุดเน้นคุณภาพผู้เรียนได้ประกาศคุณภาพผู้เรียนแต่ละช่วงชั้น
กำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจนในทุกระดับการศึกษา ดังนี้
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งเป้าให้นักเรียนชั้นป.1-ป.3 อ่านออกเขียนได้
คิดเลขเป็น มีทักษะการคิดพื้นฐาน ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย ป.4-ป.6 อ่านคล่องเขียนคล่อง คิดเลขคล่อง มีทักษะการคิดพื้นฐาน ทักษะชีวิต ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย
ม.1-ม.3 แสวงหาความรู้ด้วยตนเองใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
มีทักษะการคิดขั้นสูง ทักษะชีวิต ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย
ม.4-ม.6 แสวงหาความรู้เพื่อแก้ปัญหา ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
ใช้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) มีทักษะการคิดขั้นสูงทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย นอกจากนั้น
นักเรียนทุกระดับชั้นมีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย
ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน
รักความเป็นไทยและมีจิตสาธารณะ ระดับอาชีวศึกษา
มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะในอาชีพ
มีสมรรถนะที่สามารถปฏิบัติงานได้จริงตามความต้องการของสถานประกอบการ
รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรมและกิจนิสัยที่เหมาะสมในการทำงาน
ระดับอุดมศึกษา คาดหวังให้บัณฑิตมีคุณลักษณะอย่างน้อย 4 ด้านดังนี้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม ปรับวิถีชีวิตในความขัดแย้งค่านิยม พัฒนานิสัย
และการปฏิบัติตนตามศีลธรรม ทั้งในเรื่องส่วนตัวและสังคม ด้านความรู้
มีความสามารถในการเข้าใจ การนึกคิด
และการนำเสนอข้อมูลและสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ด้านทักษะทางปัญญา
สามารถวิเคราะห์สถานการณ์และใช้ความรู้ ความเข้าใจในแนวคิด หลักการ
ทฤษฎีในการวิเคราะห์และการแก้ปัญหา
ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ สามารถทำงานเป็นกลุ่ม
มีภาวะผู้นำ รับผิดชอบต่อตนเองและสังคมด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข
การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์และสถิติ
สามารถในการสื่อสารทั้งการพูด การเขียน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.โครงการปรับคุณภาพสถานศึกษาขนาดเล็กโดยเพิ่มเงินรายหัวให้แก่นักเรียนใน
โรงเรียนประถมศึกษาที่นักเรียนต่ำกว่า 120 คนคนละ 500
บาทต่อคนต่อปีและระดับมัธยมศึกษาที่นักเรียนต่ำกว่า 200 คนได้รับเพิ่มคนละ
1,000
บาทต่อคนต่อปีและปรับปรุงประสิทธิภาพมาตรฐานของโรงเรียนขนาดเล็กที่มีคุณภาพ
ของชุมชน
6.โครงการโรงเรียนดีประจำตำบลได้ปรับปรุงมาตรฐานและคุณภาพโรงเรียนในชนบท
โดยจัดโครงการนำร่อง 182 โรงเรียนใช้งบประมาณ 1,700
ล้านบาทและขยายผลเป็นจำนวน 7,000 โรงเรียนในปีงบประมาณ 2554 งบประมาณ2,200
ล้านบาทโดยดำเนินการตามยุทธศาสตร์ 777 เพื่อขับเคลื่อน
7.โครงการพัฒนาโรงเรียนดีประจำอำเภอ2,500
โรงเรียนและโรงเรียนไปสู่ระดับมาตรฐานสากล 500
โรงเรียนและกลุ่มโรงเรียนเอกชนและโรงเรียนนานาชาติให้มีมาตรฐานไปสู่สากล
จำนวน 1,000 โรงเรียน
8.โครงการจัดตั้งโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาคโดยพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณ์ราช
วิทยาลัย ทั้ง 12 แห่งมีลักษณะโรงเรียนอยู่ประจำ ปรับปรุงค่ารายหัวเป็น 9.4
หมื่นบาทต่อคนต่อปี
มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค
และเป็นฐานในการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
ให้มีปริมาณและคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ
ที่สามารถทำการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างความรู้และนวัตกรรมได้
9.โครงการพัฒนาคุณภาพครูทั้งระบบ10.โครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่มีเป้าหมายการ
รับนักศึกษาจำนวน 6 รุ่นจำนวน 3 หมื่นคน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2554-2558
โดยรับนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ3 ประเภทได้แก่ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับ
ม.6 รับนักศึกษาครูระดับปริญญาตรีหลักสูตร 5 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4
และรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาอื่นเข้าศึกษาต่อหลักสูตร
ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู(1 ปี) 11.โครงการสร้างขวัญกำลังใจครูเสนอ
พ.ร.บ.เงินเดือนเงินวิทยฐานะให้ครูได้รับปรับเพดานขั้นเงินเดือนประมาณร้อย
ละ 8
เพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงขึ้นเทียบเท่า
วิชาชีพแพทย์และกฎหมาย12.ดำเนินการถวายพระราชสมัญญาพระผู้ทรงเป็นครูแห่ง
แผ่นดิน
แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคล
เฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ84 พรรษาและจัดตั้ง กองทุนครูของแผ่นดิน
เป็นกองทุนเพื่อพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
13.จัดตั้งกองทุนเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการศึกษาขึ้นเป็นครั้งแรก14.โครง
การพัฒนากศน.ตำบล: ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตลอดชีวิต7,000
ตำบล15.ส่งเสริมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต16.
โครงการStudent Channel และThai Teacher TV
เป็นการเสริมสร้างและเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้เกิดความเท่าเทียมกันทั้งใน
เมืองและชนบทนอกจากนี้ยังได้ผลิตรายการ Student Channel จำนวน110
รายการและกิจกรรม Student Channel on Tour จำนวน21
ครั้ง17.ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาในพื้นที่พิเศษ3
จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้แก่
1.ยกระดับคุณภาพการศึกษา2.การพัฒนาอิสลามศึกษา3.การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
พัฒนาทักษะอาชีพหลักสูตรระยะสั้นในสถาบันศึกษาปอเนาะและสอนวิชาชีพสำหรับ
เยาวชนและประชาชน และ 4.ปรับระบบบริหารจัดการ
18.การจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.)
หรือQuality Learning Foundation (QLF)
และ19.การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง(พ.ศ.2552-2561)
ซึ่งได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่าคนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ
และมีเป้าหมายหลัก3 ประการคือ
1.พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ของคนไทย2.เพิ่มโอกาสทางการ
ศึกษาและเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพและ
3.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา
รมว.ศึกษาธิการกล่าวทิ้งท้ายว่านอกจากจะสานต่องานที่ทำจนประสบความสำเร็จ
แล้ว ยังมีหลายประเด็นที่ต้องขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรมต่อไปในปี 2554
ต้องการให้ปี2554 เป็นปีแห่งคุณภาพการศึกษาในทุกๆด้าน
โดยเฉพาะคุณภาพผู้เรียนจะต้องสะท้อนการพัฒนาอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมมากที่
สุดตามที่ได้ประกาศไว้แล้ว รวมไปถึงการบริหารจัดการรูปแบบใหม่
การบริหารจัดการงบประมาณเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการจัดการที่เหมาะสมด้วย 0 สุพินดา ณ มหาไชย 0
ที่มา: http://www.komchadluek.net |